วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การปรับพฤติกรรม

1.การปรับพฤติกรรม

      นอนตื่นสาย




2.นิยามพฤติกรรม
  -เป็นพฤติกรรมชนิดหนึ่งที่มีความล่าช้า เฉื่อยชา และไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งเร้า
      คำว่า นอนตื่นสายในที่นี้ไม่ได้หมายถึง เวลาสาย จนใกล้จะถึงเวลาเที่ยง แต่อย่างใด แต่หมายถึง เวลาตื่นนอนของคนทั่วไป ซึ่งตื่นช้ากว่าเวลาปกติที่ควรจะตื่นของ ตัวบุคคลนั้น หรือ เรียกว่า "นอนตื่นสาย" นั่นเอง
3.ระดับความรุ่นแรงของพฤติกรรม
      - ปวดหัวบ่อย
     - ไปเรียนสาย
     - ไปทำงานสาย
     - สุขภาพทรุดโทรมลง
     - ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน




4.เป้าหมาย
      ต้องปรับพฤติกรรมในช่วงเวลา 1 สัปดาห์


5.วิธีการปรับพฤติกรรม
5.1  การปรับสิ่งเร้า

  -       สิ่งเร้าเดิมขณะแสดงพฤติกรรม
       เตียง  ผ้าห่ม  หมอนข้าง  แอร์  ทีวี  โทรศัพท์  ตู้เสื้อผ้า  ชอบเล่นเฟสบุ๊ค





สิ่      -สิ่งเร้าใหม่ขณะแสดงพฤติกรรม
      เตียง  ผ้าหุม นาฬิกาปลุก  พัดลม  ปิดทีวี  นอนหัวค่ำ  ปิดเครื่องโทรศัพท์  ไม่เล่นเฟสบุ๊ค


5.2  ปรับความคิด
  -      ความคิดเดิม

 ชอบดูทีวี   ชอบอ่านหนังสือนิยาย  ชอบคุยโทรศัพท์  ชอบเที่ยวกลางคืน 

 


-        - ความคิดใหม่
ตื่นเช้ารู้สึกสดชื่น   อยากออกกำลังกายตอนเช้า  อยากดูพระอาทิตย์ขึ้น   อยากมีสุขภาพที่ดี





7.เป้าหมาย
     เป็นไปตามเป้าหมาย  เพราะ พยายามปรับพฤติกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
 


พื้นที่ในบุคลิกภาพของมนุษย์

 

พื้นที่ในบุคลิกภาพของมนุษย์

1. บริเวณเปิดเผย (Open Area) หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกให้ผู้อื่นเห็นได้ เช่น ชื่อ แหล่งที่มา การแต่งกาย ลักษณะท่าทาง รวมถึงข้อมูลอื่นๆ และบุคคลแลกเปลี่ยนให้รู้จัก ผู้ที่ติดต่อสัมพันธ์กันอย่างสนิทสนม รู้จักคุ้นเคยกันดี บริเวณนี้จะมีอาณาเขตกว้างเพิ่มขึ้น



2.บริเวณซ่อนเร้น (Hidden Are)หมายถึงที่บุคคลหรือตนเองทราบ แต่เก็บซ่อนไว้ในใจไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นทราบ ดังนั้นเมื่อบุคคลติดต่อ หรือเกี่ยวข้องกับคนอื่น บุคคลย่อมทราบพฤติกรรมของตนอย่างดี แต่ผู้อื่นอาจไม่ทราบพฤติกรรมบางอย่างของบุคคลนั้น เพราะเขาซ่อนเร้นไว้ยกเว้นถ้าบุคคลสนิทสนมกันก็จะลดบริเวณซ่อนเร้นให้น้อยลง เช่น เด็กวัยรุ่นสาว ๆ ที่มีแฟนหรือคนรักแล้วมักจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับชายคนรักของเธอให้กับเพื่อนหญิงด้วยเช่นกัน
หรือในสถานที่ทำงานบางแห่งอาจจะมีบุคคลบางคนนำเรื่องในครอบครัวหรือความสัมพันธ์ของบุคคลมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น




                               


 









  3. บริเวณจุดบอด (Blind Area) หมายถึงพฤติกรรมที่บุคคลได้แสดงออกอย่างเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ โดยที่ตนเองมิได้ตั้งใจหรือแสดงออกโดยไม่ทราบหรือไม่รู้ตัว เช่น บางคนพูดพร้อมกับยักคิ้วหรือเดินแบบยักคิ้ว หรือพูดในขณะที่มีกลิ่นปาก โดยที่ตนเองไม่ทราบ แต่ถ้าบุคคลติดต่อและสนิทสนมกัน เพื่ออาจจะช่วยลดบริเวณจุดบอดของตนเองให้ลดลงได้




4. บริเวณอวิชชา หรือบริเวณมืดมน (Unknown Area)หมายถึง บริเวณที่พฤติกรรมหรือความรู้สึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ตนเองไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจมาก่อน และบุคคลอื่นไม่เคยรู้ไม่เคยสนใจมาก่อนเช่นกัน พฤติกรรมในส่วนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์บางอย่าง ทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ขึ้นมาได้ เช่น บุคคลบางคนมีกิริยามารยามเรียบร้อย สุภาพเรียบร้อย สุขุม เยือกเย็น แต่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน พฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้จึงเกิดขึ้น
 




วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์


อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความแตกต่างของบุคคลในด้านต่างๆ

1. ความแตกต่างทางด้านร่างกาย (Physical)


เป็นความแตกต่างที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด ซึ่งรับอิทธิพลมาจากพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเราสามารถจำแนกความแตกต่างทางด้านร่างกายของแต่ละบุคคล ได้แก่
1) ลักษณะโครงสร้างทางร่างกาย เช่น ลักษณะสีผิว หน้าตา ลักษณะรูปร่าง ฯลฯ ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะโครงสร้างตามเผ่าพันธุ์ที่แตกต่างกัน
2) เพศ ทารกที่เกิดใหม่จะได้รับอิทธิพลทางเพศมาจาก เซ็กซ์โครโมโซม โดยตรง ซึ่งสรีระของชายและหญิงก็จะปรากฏความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
3) ชนิดของกลุ่มโลหิต โดยปกติแล้วมนุษย์จะมีกลุ่มโลหิตเพียง 4 กลุ่ม คือ A, B, O และ AB ซึ่งบุคคลใดจะมีโลหิตกลุ่มใดขึ้นอยู่กับพันธุกรรมจากบิดาและมารดาของตนดังตาราง
4) การทำงานของอวัยวะภายใน มีการทำงานของระบบภายในร่างกายที่ได้รับการยืนยันว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ความดันเลือด เป็นต้น
5) ลักษณะของโรคภัยไข้เจ็บ และข้อบกพร่องทางร่างกายบางประการที่เกิดจากพันธุกรรม เช่น ตาบอดสี โรคเลือดไหลไม่หยุด ลมบ้าหมู ธาลัสซีเมีย เบาหวาน นิ้วเกิน นิ้วติด ผิวเผือก เป็นต้น 
2. ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา (Intelligence)


สติปัญญา หมายถึง ความสามารถทางสมองในการจำ คิด วิเคราะห์ หาเหตุผล เรียนรู้ และการกระทำกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เจนเซน (Jensen) สรุปไว้ว่า ความฉลาดและความโง่ของแต่ละบุคคลเป็นผลมาจากพันธุกรรมถึง 80 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นอีก 20 เปอร์เซ็นต์เป็นผลจากสิ่งแวดล้อม
        เฮนรี่ อี. ก็อดดาร์ด (Henrey E. Goddard) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลของตระกูลหนึ่งซึ่งเพื่อความเหมาะสมจึงให้การสมมติชื่อขึ้น โดยศึกษาย้อนหลังไปกว่า 50 ปี ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อสติปัญญาของบุคคลที่ได้รับการยอมรับและกล่าวถึงกันมากในแวดวงจิตวิทยา
        นอกจากนี้ เออร์เลนไมเออร์ คิมลิง และจาร์วิก (Erlenmeyer Kimling and Jarvik) ได้ศึกษาเรื่องอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อสติปัญญา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมในระดับต่าง ๆ เพื่อหาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ทางสติปัญญาจำนวน 52 งานวิจัย ได้ผลดังภาพ
3.     ความแตกต่างด้านอารมณ์ (Emotion)
อารมณ์ (Emotion) หมายถึง สภาวะของจิตใจที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าอารมณ์เป็นผลมาจากการถูกกระตุ้น จากสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายใน
เคิรตช์และครัตช์ฟิลด์ (Kretch and Crutchfield) เชื่อว่าอารมณ์เป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมากับมนุษย์แต่กำเนิดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอารมณ์พื้นฐาน (Primary Emotion) ได้แก่ รัก โกรธ เกลียด กลัว ร่าเริง เศร้า สนุกสนาน เป็นต้น ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ถูกถ่ายทอดมาจากยีนบรรพบุรุษของมนุษย์ ดังนั้น คนเราจึงมีอารมณ์พื้นฐานเหมือนกันทั้งสิ้น เพียงแต่มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน เช่น บางคนเมื่อโกรธก็จะขว้างปาสิ่งของ หรือบางคนอาจแสดงออกแค่การกำมือแน่น เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเลี้ยงดูของพ่อแม่ นอกจากอารมณ์พื้นฐานแล้วยังมีอารมณ์บางส่วนที่เกิดจากการเรียนรู้ภายหลัง เช่น อิจฉา ใจร้อน ใจเย็น ตลกขบขัน เป็นต้น
4.     ความแตกต่างทางสังคม (Social)


ความแตกต่างทางสังคม หมายถึง ความแตกต่างด้านการแสดงออกทางพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในสังคม ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพกับสมาชิกอื่นในสังคม การวางตัว และการปรับตัว เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมาจะเป็นในทางบวกหรือลบในระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่บุคคลเติบโตมา โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมในสถาบันครอบครัว
5.     ความแตกต่างด้านบุคลิกภาพ (Personality)
บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคลที่แสดงออกมาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยเหตุนี้บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกันไป นักจิตวิทยาเชื่อว่าบุคลิกภาพเป็นพฤติกรรมโดยส่วนรวมที่ได้สั่งสมกันมาเป็นเวลายาวนาน ดังนั้น บุคลิกภาพจึงได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้ สิ่งแวดล้อมในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน โดยปัจจัยที่แตกต่างในสภาพแวดล้อมทำให้บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ถูกหล่อหลอมให้มีความแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม แม้บุคลิกภาพจะเป็นสิ่งที่สั่งสมมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยและความเคยชินก็ตาม แต่บุคคลก็สามารถพัฒนาบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์ให้ดีขึ้นได้


Life Position

Transaction Analysis ( การวิเคราะห์สภาพบุคคล)

นักจิตวิทยา Thomas A Harris กล่าวว่า เหตุที่คนส่วนใหญ่แสดงพฤติกรรมเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมส่วนหนึ่งเกิดจากฐานเดิมของชีวิตที่หล่อหลอมโลกทัศน์ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้มีจุดยืนแห่งชีวิตแตกต่างกัน จุดยืนแห่งชีวิต (life positions) แบ่งออกเป็น 4 จุดยืน
        1.ตัวเราแน่ คนอื่นก็แน่ (I’m O. K. You’re O.K.)
        2.ตัวเราแน่ คนอื่นแย่ (I’m O.K. You’re not O.K.)
        3.ตัวเราแย่ คนอื่นแน่ (I’m not O.K. You’re O.K.)      
        4.ตัวเราก็แย่ คนอื่นก็แย่ (I’m not O.K. You’re not O.K.)
แนวคิด 4 life positions มีดังนี้
1.ตัวเราแน่ คนอื่นก็แน่ (I’m O. K. You’re O.K.) การพูดการแสดงท่าทีที่กระทำออกมาครั้งใด ก็ไม่ทำให้ใครเสีย มีแต่ทำให้คนอื่นสบายใจ เป็นลักษณะของความมีสุขภาพจิตดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเป็นมิตร มนุษย์สัมพันธ์สูง บุคลิกน่าเชื่อถือ เปิดใจรับฟังผู้อื่น ถ้าเป็นนักบริหารก็จะแก้ไขปัญหาเก่ง เป็นทั้งผู้ที่ให้และผู้รับที่ดี ให้ความใส่ใจทางบวก
คนกลุ่มที่ 1 นี้ มองตนเองว่าเป็นคนมีความสามารถ มีความมั่นใจในตนเอง และความเก่งในการทำงานในเรื่องที่ตนถนัด รวมทั้งยังมองคนอื่นว่าเป็นคนที่เก่ง เพราะทุกคนจะมีความเก่งของตนเอง ยอมรับความแตกต่างในความสามารถของแต่ละคน มีความเป็นตัวของตัวเอง คนที่มองแบบนี้จะเป็นคนที่มีความมั่นใจในตนเอง และให้เกียรติคนอื่นด้วย นี่คือคุณสมบัติที่ดีของคนที่จะเป็นผู้นำคนอื่นได้



2.ตัวเราแน่ คนอื่นแย่ (I’m O.K. You’re not O.K.) การพูดหรือการแสดงออกมาครั้งใด ผู้พูดหรือผู้แสดงออกจะอยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่า ดีกว่า แต่คู่สนทนาขาดทุน หรือมีความรู้สึกไม่สบายใจทันที เป็นจุดยืนที่ไม่ค่อยไว้เนื้อเชื่อใจใคร มีสภาวะจิตแบบเด็กที่ชอบสงสัย มีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป ไม่ค่อยเป็นมิตร หยิ่งยะโส อหังการ กร่าง ระราน ไม่เปิดเผยจริงใจ ประเมินค่าตนเองสูง ชอบให้ความใส่ใจทางลบ มีความขุ่นเคืองติดอยู่ในใจตลอดเวลา
คนกลุ่มที่ 2 นี้ มองตนเองว่าเหนือกว่าคนอื่นทุกเรื่อง แต่คนอื่นสู้ตนเองไม่ได้เลยสักเรื่องเดียว คนที่มองตนเองแบบนี้ จะเป็นคนที่ยกตนข่มท่าน และจะไม่ค่อยยอมให้คนอื่นมาดีกว่าตนเองได้ คนกลุ่มนี้จะสร้างปัญหาให้หน่วยงานและองค์กรมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการนินทาให้ร้ายผู้อื่น พูดจาเหน็บแนมทิ่มแทงผู้อื่น จ้องจำผิด วิพากษ์วิจารณ์ในทางเสียหาย ไม่ได้สร้างสรรค์เสนอแนะ ถ้าองค์กรมีคนกลุ่มนี้จำนวนมากที่มารวมตัวสุมหัวกันเมื่อไร จะพากันตำหนิติเตียนไปเรื่อย เรียกว่า จิตใจต่ำ พวกนี้มักจะสำคัญตนว่า ฉันเก่ง ทำตัวเป็น น้ำล้นแก้ว ไม่รับความคิดเห็นหรืออะไรใหม่ๆ มักจะบ่นว่า บริษัทที่ตนเองอยู่ไม่ดี บริษัทอื่นเขาดีอย่างงั้นดีอย่างนี้ แต่ตัวเองก็ไม่ยอมไปจากบริษัทสักที


3.ตัวเราแย่ คนอื่นแน่ (I’m not O.K. You’re O.K.) การพูดหรือการแสดงออกมาครั้งใด ผู้พูดหรือผู้แสดงออกจะเป็นฝ่ายขาดทุนหรือเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที แต่คู่สนทนาจะได้รับการยอมรับ หรือการได้รับการยกย่อง ได้รับเกียรติ เป็นจุุดยืนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ปรับตัวแบบถอยหนี ขาดความมั่นใจ ความคิดริเริ่มน้อย แนวโน้มมีความเครียด
คนกลุ่มที่ 3 นี้ จะเป็นคนที่มองคนอื่นเก่งกว่า ดีกว่าตนเองเสมอ จะมองตัวเองว่าด้อยกว่าคนอื่นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม สำหรับคนที่เป็นหัวหน้างาน ความคิดแบบนี้ไม่ดีนัก เพราะมองว่าตนเองไม่เก่งเลย ซึ่งจุดนี้จะทำให้เราไม่สามารถไปสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกน้องของตนเองได้ และทำให้เพื่อนร่วมทีมไม่ค่อยจะยอมรับและเชื่อถือเรา


4.ตัวเราก็แย่ คนอื่นก็แย่ (I’m not O.K. You’re not O.K.) การพูดหรือการแสดงออกมาบางครั้ง หาคนโชคดีไม่ได้เลย เสียความรู้สึกทั้งผู้ฟังและผู้พูด มีสภาวะจิตบกพร่องเป็นผู้แพ้ หมดหนทางจนมุม ขาดพลังใจ มีภาวะกดดัน ไม่กล้าแสดงออก ยึดติดกับความผิดพลาดในอดีต ขาดความคิดริเริ่ม คนขวางโลก รั้น ให้และรับความใส่ใจทางลบ

คนกลุ่มที่ 4 นี้ มองว่าตนเองไม่ดี ไม่เก่ง แถมยังมองคนอื่นว่า ไม่ได้ดีไปกว่าตัวเองซักเท่าไร แบบนี้ยิ่งไม่ดีสำหรับคนที่จะเป็นหัวหน้างาน หรือผู้นำ
แน่นอนว่า สิ่งที่ผู้บริหารต้องการให้เกิดขึ้นในองค์กร คือ รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น I’m O. K. You’re O.K. และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกลุ่ม I’m O.K. You’re not O.K. แต่สภาพความเป็นจริง ปัญหานี้มักเกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลก่อน จากนั้นจึงขยายวงกว้างเป็นความขัดแย้งของหน่วยงานและองค์กร
ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระดับบุคคล เกิดจากเพื่อนร่วมงาน รุ่นพี่ หรือหัวหน้างาน แต่ละคนก็มีวิธีการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน บางคนก็ใช้ความอดทน บางคนไม่รู้จะทนเพื่ออะไร ก็ระเบิดอารมณ์เข้าใส่กัน บางคนเลือกที่จะหลีกหนีไปให้พ้นจากจุดเกิดเหตุ บางคนก็เลือกใช้วิธีประนีประนอม นุ่มนวล หรือไม่ก็เข้ากลุ่มเป็นพวกด้วย แล้วแต่สถานการณ์จะพาไป
คนที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มที่ใช้ความอดทน เพราะต้องใช้หลายๆ วิธี เข้าข่ม จะเป็นธรรมะ ทำใจ เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปิดตา ปิดหู  ไม่สนใจพวกปากหอยปากปู แต่ก็อย่าลืมหาทางที่จะปลดปล่อยบ้าง มิฉะนั้น มันอาจจะระเบิดรุนแรงขึ้นมาก็ได้